มาร์ทีน บอร์มัน
มาร์ทีน บอร์มัน

มาร์ทีน บอร์มัน

มาร์ทีน บอร์มัน (เยอรมัน: Martin Bormann; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นข้าราชการที่โดดเด่นในนาซีเยอรมนีในฐานะหัวหน้าของทำเนียบสำนักงานพรรคนาซี (Nazi Party Chancellery) เขาได้รับอำนาจอย่างมากมายโดยใช้ตำแหน่งของเขาในฐานะเลขานุการส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เพื่อควบคุมการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารและส่งมอบให้กับฮิตเลอร์ เขาได้รับสืบทอดจากฮิตเลอร์ในฐานะผู้นำของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หลังฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรม เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945บอร์มันได้เข้าร่วมองค์กรกองกำลังกึ่งทหารคือ เหล่าทหารเสรี (Freikorps) ในปี ค.ศ. 1922 ในขณะที่กำลังทำงานเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เขาได้ทำหน้าที่เป็นเวลาเกือบปีในเรือนจำในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดกับเพื่อนของเขา รูด็อล์ฟ เฮิส (ต่อมาได้ผู้บัญชาการของค่ายกักกันเอาช์วิทซ์)ในการสังหาร Walther Kadow บอร์มันได้เข้าร่วมพรรคนาซีในปี ค.ศ. 1927 และชุทซ์ชตัฟเฟิล(เอ็สเอ็ส) ในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ทำงานช่วงแรกในงานบริการประกันภัยของพรรค และย้ายไปอยู่ที่สำนักงานรองฟือเรอร์ รูด็อล์ฟ เฮ็สในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 ที่เขาได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของพนักงานบอร์มันได้ใช้ตำแหน่งของเขาเพื่อสร้างระบบราชการอย่างกว้างขวางและเกี่ยวข้องกับตัวเขาให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจ เขาได้รับการยอมรับในวงภายในของฮิตเลอร์และพร้อมกับตัวเขาทุกๆที่,ที่ให้คำบรรยายสรุปและสรุปเหตุการณ์และการเรียกร้อง เขาได้เริ่มทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1935 บอร์มันได้ยอมรับหน้าที่แต่เดิมของเฮ็สกับตำแหน่งผู้นำของทำเนียบสำนักงานพรรค ภายหลังจากเฮ็สได้บินเดี่ยวไปยังอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอังกฤษ(แต่สุดท้ายถูกจับตัวเข้าคุก) เขาได้อนุมัติขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับการนัดหมายของข้าราชการพลเรือน, ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติกฎหมายขึ้นมาใหม่ และในปี ค.ศ. 1943 ได้มีการควบคุมเรื่องต่างๆภายในประเทศโดยพฤตินัย บอร์มันได้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ได้ประหัตประหารเหล่าชาวคริสเตียนอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนในการสังหารต่อชาวยิวและชาวสลาฟในพื้นที่ที่ถูกพิชิตโดยเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบอร์มันได้กลับมาพร้อมกับฮิตเลอร์ที่ฟือเรอร์บุงเคอร์ในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1945 ในขณะที่กองทัพแดงของโซเวียตได้รุกเข้าสู่เมือง หลังจากฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม บอร์มันและคนอื่นๆได้พยายามที่จะหลบหนีออกจากกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยโซเวียต ซึ่งบอร์มันอาจจะฆ่าตัวตายไปแล้วบนสะพานที่อยู่ใกล้กับสถานี Lehrter ศพถูกฝังอยู่ใกล้ๆ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 แต่หาไม่พบและไม่มีการยืนยันว่าเป็นศพของบอร์มันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1972 การชันสูตรศพได้รับการยืนยันแล้วในปี ค.ศ. 1998 โดยการตรวจดีเอ็นเอ บอร์มันได้ถูกนำมาพิจารณาคดีลับหลัง(in absentia)โดยศาลทหารระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คในปี ค.ศ. 1945 และ 1946 เขาได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและได้รับตัดสินโทษประหารชีวิตโดยการแขวนคอ

มาร์ทีน บอร์มัน

ลายมือชื่อ
คู่สมรส แกร์ดา บูค
ก่อนหน้า รูด็อล์ฟ เฮ็ส
พรรคการเมือง พรรคแรงงานชาติสังคมนิยมเยอรมัน (1920–1941)
เกิด 17 มิถุนายน ค.ศ. 1900(1900-06-17)
เวเกอเลเบิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (44 ปี)
เบอร์ลิน
สัญชาติ เยอรมัน

ใกล้เคียง

มาร์ทีน บอร์มัน มาร์ทีนี (ค็อกเทล) มาร์ทีน คร็อกซอลล์ มาร์ทีน ฮินเทอเร็กเกอร์ มาร์ทีน นีเมิลเลอร์ มาร์ทีน ฮาร์นิค มาร์ทีน บรุนเนอร์ มาร์ทีน ไฮน์ริช คลัพโรท มาร์ทีน ไฮเด็กเกอร์ มาร์ทีน โชนเกาเออร์